กิจกรรมการเพาะปลูกเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมการเพาะปลูกเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเด็กปฐมวัย
การทำสวนผักยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างมากมาย การให้เด็กได้ปลูกผักมีส่วนช่วยในขั้นตอนต่างๆ มีผลทำให้เด็กที่ไม่กินผักหันมากินผักมากขึ้น โดยเฉพาะผักที่ตัวเองปลูกเองกับมือ หลายโรงเรียน หรือคุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงเริ่มสนใจ แต่บางทีก็คิดไม่ค่อยออกว่าจะนำเรื่องการปลูกผักมาเชื่อมโยงกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กๆได้อย่างไร

สำหรับเด็กในชุมชนเมืองมีพื้นที่สำหรับใช้ในการเพาะปลูกน้อย พ่อแม่ควรจัดพื้นที่หน้าบ้านหรือระเบียงไว้สำหรับให้เด็กได้เพาะปลูกผัก ไม้ดอก ไม้ประดับที่มีต้นไม่ใหญ่มากนัก เพื่อให้เด็กเรียนรู้ที่จะดูแลรักษา และเกิดความรับผิดชอบ ภาคภูมิใจในกิจกรรมการเพาะปลูก และเป็นการปูพื้นฐานให้ตระหนักและรับรู้ถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป ทั้งนี้พ่อแม่ผู้ปกครองควรมีบทบาทในการจัดกิจกรรมการเพาะปลูกเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเด็กปฐมวัย ดังนี้

  1. จัดสภาพแวดล้อมที่บ้านให้มีความร่มรื่นสวยงามด้วยการจัดพื้นที่สำหรับการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ต้นไม้ที่ให้ร่มเงาเพื่อให้เด็กได้ซึมซับเกี่ยวกับประโยชน์ของต้นไม้และธรรมชาติที่มีต่อการดำรงชีวิต เช่น ให้ความสดชื่นสวยงามสบายตา ให้ร่มเงาและคลายร้อนได้
  2. จัดพื้นที่หลังบ้านให้มีแปลงพืชผักสวนครัว เช่น การปลูกขมิ้น ตะไคร้ ขิง ข่า ใบมะกรูด ผักบุ้ง ผักคะน้า ฯลฯ เพื่อนำมาใช้ในการประกอบอาหารของครอบครัวและให้เด็กได้เรียนรู้ด้วย
  3. ให้เด็กได้มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการปลูกพืชผัก สวนครัว การปลูกต้นไม้ ตั้งแต่การเตรียมการปลูก ลงมือปลูกและการบำรุงดูแลรักษาให้พืชผักเจริญเติบโตจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ความรู้สึกรับผิดชอบและความภาคภูมิใจที่เกิดจากการได้ทำกิจกรรมการเพาะปลูกด้วยตนเอง จะนำไปสู่การรับรู้ถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้
  4. สอนเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น การพาลูกไปเที่ยวอุทยาน สวนสัตว์ที่มีพื้นที่ป่าและต้นไม้ โดยชี้ให้เด็กเห็นว่าต้นไม้มีประโยชน์ เป็นสถานที่สำหรับการมาท่องเที่ยวและพักผ่อน เป็นสถานที่มีอากาศบริสุทธิ์สำหรับการอยู่อาศัยของสัตว์ด้วย นอกจากนี้ต้นไม้ยังเป็นที่กักเก็บน้ำ เช่น รากของต้นไม้ใหญ่บนภูเขาเป็นแหล่งกักเก็บน้ำทำให้มีน้ำใช้ได้ตลอดไป ถ้าเราไปตัดต้นไม้นั่นหมายถึงการทำลายต้นน้ำลำธารด้วย
  5. แนะนำเด็กให้ดูสารคดีที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติจากรายการโทรทัศน์ต่างๆที่เป็นประโยชน์ เนื่องจากสารคดีต่างๆที่นำเสนอจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การเรียนรู้และทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรจนเกิดเป็นนิสัย ซึ่งจะปลูกฝังให้เกิดความรัก ความหวงแหน และตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การรับรู้เป็นการสร้างลักษณะนิสัยให้มองเห็นคุณค่าความงดงามของสิ่งแวดล้อม

 

4 เทคนิคชวนลูกปลูกผัก ช่วยให้พัฒนาทั้งทักษะร่างกาย ทักษะสมอง

การปลูกผักกินเอง นอกจากจะประหยัด มีผักปลอดสารพิษไว้กินแล้ว หากลองฝึกให้เด็กๆ ลงมือทำด้วยจะช่วยให้พัฒนาทั้งทักษะร่างกาย ทักษะสมอง และพื้นฐานเรื่องอารมณ์จิตใจที่เหมาะสมตามวัย ปรับทัศนคติของเด็กที่ไม่ชอบกินผักได้ดีอีกด้วย

หากพูดถึงศัตรูในใจเด็ก ส่วนใหญ่หนึ่งในนั้นคงเป็น “ผัก”แน่นอน การปลูกพืชผักสวนครัวไว้สำหรับรับประทานเองในครอบครัวเพียงพื้นที่เล็กๆ สามารถทำให้เกิดกระบวนการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการรับประทานผักเกิดแก่เด็กจากที่เกลียดผักให้กลายเป็นเด็กที่รักการรับประทานผัก เด็กจะรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็นผักที่เขาปลูกเองค่อยๆ โตขึ้น พ่อแม่ก็จะรู้สึกตื่นเต้นไม่แพ้กันเวลาได้เห็นลูกมีความสุข เมื่อได้รับประทานผักจากแปลงผักของเขาเอง ยิ่งไปกว่านั้นทำให้เกิดการเรียนรู้และทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรจนเกิดเป็นนิสัย ซึ่งจะปลูกฝังให้เกิดความรัก ความหวงแหน และตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การรับรู้เป็นการสร้างลักษณะนิสัยให้มองเห็นคุณค่าความงดงามของสิ่งแวดล้อม

ครอบครัวชนบทสามารถทำให้ลูกเรียนรู้ได้โดยง่ายเนื่องจากวิถีชีวิตจะอยู่กับธรรมชาติและต้นไม้ สำหรับชุมชนเมืองมีพื้นที่สำหรับใช้ในการเพาะปลูกน้อย เพียงพื้นที่หน้าบ้านหรือระเบียงสามารถปลูกผักตะกร้า หรือปลูกผักแนวตั้ง ถ้วย กะละมัง ขวดพาสติก ก็สามารถเพาะปลูกได้ ซึ่งปัจจุบันมีองค์ความรู้เรื่องของการปลูกผักในพื้นที่เล็ก ๆ มากมาย อย่างเช่นเว็บไซต์ของ สวนผักคนเมือง ก็มีทั้งองค์ความรู้และศูนย์เรียนรู้ที่กระจายอยู่หลายพื้นที่ให้ได้ศึกษาและนำมาปรับใช้ในบ้านได้ไม่ยาก

เทคนิคการสอนลูกปลูกผัก
1.ก่อนที่จะลงมือสอนลูกพ่อแม่เองต้องเรียนรู้ ก่อนว่าตนมีความรู้ทางด้านการเกษตรมากน้อยเพียงใด หากไม่มีความรู้มากนักก็ควรเริ่มจากศึกษาลงมือด้วยตนเองก่อน เมื่อคิดว่าทำได้สำเร็จแล้วจึงชักชวนลูกมาร่วมกันทำ
2. เริ่มจากการปลูกผักที่ปลูกขึ้นได้ง่ายๆ เช่น ต้นอ่อนทานตะวัน ผักชี ต้นหอม คะน้า ผักบุ้งจีน กะเพรา โหระพา พริก มะเขือเทศ เป็นต้น รวมถึงอธิบายถึงประโยชน์ของผักแต่ละชนิดให้เด็กได้เรียนรู้ โดยเฉพาะผักพื้นบ้าน ให้เด็กได้ลองสังเกตแยกแยะลักษณะของผักแต่ละชนิดด้วยตนเอง
3.ให้เด็กได้มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการปลูก ตั้งแต่การเตรียมการปลูก ลงมือปลูกและการบำรุงดูแลรักษาให้พืชผักเจริญเติบโตจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โดยอาจใช้วิธีเล่นเป็นเกมแข่งปลูกต้นไม้ และจากนั้นก็ต้องมีการดูแลหมั่นรดน้ำต้นไม้ที่ตัวเองปลูก แล้วดูว่าต้นไม้ของใครจะเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน
4. ควรจะสอดแทรกคำสอน และระเบียบวินัยลงไปด้วย เช่น ควรสอนให้ลูกรู้จักความรับผิดชอบในการดูแล รดน้ำต้นไม้ให้เป็นเวลา และสอนให้รู้จักสังเกตการเจริญเติบโตของมันในแต่ละช่วง ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถใช้เวลานี้ทำให้เด็กรับรู้ว่า พวกเขาก็มีศักยภาพมากพอที่จะทำงานสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ด้วยตัวเอง

การปลูกผัก ช่วยสอนวิธีใช้ชีวิต และการกินอาหารอย่างถูกสุขอนามัย โดยที่เด็กจะเต็มใจลองผักชนิดใหม่มากขึ้น เริ่มต้นจากพื้นที่เล็ก ๆ ในบ้านก็สร้างการเรียนรู้ที่ดีได้ ที่สำคัญคือ พ่อแม่ต้องใส่ใจ เข้าใจ และร่วมลงมือทำกับลูก

การหันมาปลูกพืชผักปลอดสารพิษเพื่อจำหน่ายและทานเอง

14266537991426653891l
ผักปลอดสารพิษ คือผักที่ปลอดสารพิษในช่วงตอนเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่ไม่ได้ปลอดการใช้สารเคมีในช่วงระหว่างการเพาะปลูก ซึ่งจริงๆแล้วมันก็ควรจะเป็นผักทั่วไปที่เราหาซื้อมาบริโภคกันตามท้องตลอดทั่วไปใช่ไหม แต่โลกในความเป็นจริงมันไม่ได้สวยงามขนาดนั้น เพราะในปัจจุบันผักที่วางขายส่วนมากก็จะมีสารพิษเกินค่ามาตรฐานอยู่ เพราะบางแห่งก่อนเก็บเกี่ยวเขายังต้องฉีดยาฆ่าแมลง ตัวอย่างผักที่พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานก็เช่น ผักคะน้า มะเขือพวง พริกสด ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ แตงกวา ต้นหอม ผักชี หัวไชเท้า เป็นต้น นอกจากนี้ผู้บริโภคควรจะเลือกรับประทานผักให้เหมาะสมกับฤดูกาล เช่น ถ้าเป็นฤดูฝน ผักคะน้าที่เห็นขายในตามท้องตลาดส่วนใหญ่จะปนเปื้อนสารเคมี ก็ให้หันมาบริโภคผักกวางตุ้งแทน เป็นต้น หรือเลี่ยงการบริโภคผักที่อยู่นอกฤดูกาล เช่น ในฤดูฝนเป็นไปไม่ได้ที่ผักกะหล่ำจะออก ถ้ามีขายก็แสดงว่าต้องมีการใช้สารเคมีอย่างดุเดือด เป็นต้น

การเลือกเก็บเกี่ยวผลผลิตควรเก็บในระยะที่มีอายุแก่เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของพืชผัก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณค่าทางอาหาร รสชาติ และลักษณะรูปร่าง สีสัน ความสุกเหมาะสมและดีที่สุด เมื่อถึงมือผู้บริโภค การเก็บเกี่ยวควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้เกิดร้อยช้ำ รอยขีดข่วน เพื่อรักษาคุณภาพให้ดีที่สุด การสูญเสียของพืชผักหลังการเก็บเกี่ยวมีสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอากาศร้อนของประเทศไทย ผักกินใบเป็นผักที่เน่าเสียได้ง่าย โดยเฉพาะหากในระหว่างเก็บเกี่ยวผักมีการ บอบช้ำ ฉีกขาด หรือเป็นแผลจากการเก็บเกี่ยว และการขนย้ายที่ไม่ดีทำให้เชื้อโรคต่างๆเข้าทำลายง่าย ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียของพืชผักควรต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสมทั้งก่อนการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว

ประโยชน์ของการรับประทานผักปลอดสารพิษ

1.ทำให้ได้ผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
2.การบริโภคผักที่ปลอดสารพิษในปริมาณที่เหมาะสมเป็นประจำจะช่วยทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี มีความแข็งแรง ไม่เจ็บได้ง่าย ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.ช่วยทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น หากเกษตรกรไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
4.ช่วยลดปริมาณการนำเข้าสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชจากต่างประเทศ
5.ช่วยลดต้นทุนการผลิตจองเกษตรกรในด้านค่าใช้ต่าง ๆ
6.เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการปลูกผักปลอดสารพิษ เนื่องจากได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ทำให้ขายได้ในราคาที่สูงขึ้น
7.ช่วยลดปริมาณของสารเคมีซึ่งเป็นพิษที่จะปนเปื้อนเข้าในดิน ในอากาศ และในน้ำ
8.การบริโภคปลอดสารพิษนอกจากจะช่วยทำให้ชีวิตปลอดภัยแล้ว ยังน้อมนำสู่วิถีชีวิตที่พอเพียง

คุณแม่ต้องการสร้างนิสัยรักการกินผักให้กับลูกน้อย

.4

เขี่ยผักไว้ข้างจานอีกแล้วนี่คงเป็นปัญหาที่คอยสร้างความหนักใจให้กับคุณแม่หลายท่าน เมื่อถึงเวลาต้องรับประทานอาหารของลูกน้อยอยู่บ่อย ๆ นั่นเป็นเพราะธรรมชาติของเด็กเล็ก มักจะติดรสชาติของอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและเกลือได้ง่าย จึงมักปฏิเสธการรับประทานอาหารที่มีรสขม โดยเฉพาะผักใบเขียวที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแต่จากผลการวิจัยที่ระบุว่า เด็กทารกส่วนใหญ่มักมีแนวโน้มชอบรสชาติของอาหารที่แม่รับประทานในระหว่างตั้งครรภ์ และช่วงให้นมบุตร จึงถือเป็นโอกาสที่ดีหากคุณแม่ต้องการสร้างนิสัยรักการกินผักให้กับลูกน้อย โดยเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่เป็นอาหารที่มีรสจัด และรับประทานผักผลไม้หลากหลายชนิดในปริมาณมาก ๆ ระหว่างตั้งครรภ์และในระหว่างการให้นม เด็กก็จะเปิดรับการทานผักและผลไม้มากขึ้นหลังจากหย่านมแล้ว เพราะพวกเขาคุ้นเคยกับรสชาติของอาหารเหล่านั้นเป็นอย่างดี

การวิจัยนี้เป็นผลมาจากการสำรวจทารกที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งพบว่า เด็กที่คุณแม่ดื่มน้ำแครอทในระหว่างตั้งครรภ์เป็นประจำ หรือสัปดาห์ละหลาย ๆ ครั้ง จะชอบรับประทานซีเรียลรสแครอทมากกว่าเด็กในกลุ่มอื่น จึงยืนยันได้ว่า รสชาติของอาหารที่มารดารับประทานเข้าไปสามารถสื่อถึงลูกน้อยโดยผ่านทางน้ำคร่ำและน้ำนมของมารดาได้ จึงสรุปได้ว่า รูปแบบการรับประทานอาหารของมารดาส่งผลต่อลักษณะนิสัยการบริโภคอาหารของลูกน้อย ดังนั้น ยิ่งคุณแม่รับประทานอาหารที่หลากหลายมากเท่าใด ลูกที่เกิดมาก็จะไม่เรื่องมากในเรื่องของการรับประทานอาหารตามไปด้วย

แต่นั่นก็ยังไม่สายเกินไปสำหรับคุณแม่ที่กำลังตัดพ้อว่ารู้อย่างนี้ กินผักมาก ๆ ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์เสียก็ดี เพราะเรายังสามารถสอนให้เด็กปรับตัวยอมรับและรักการกินผักอย่างรวดเร็วได้ ตั้งแต่เริ่มเปลี่ยนจากการดื่มนมมาเป็นอาหารแข็ง ซึ่งบทสรุปของการวิจัยนี้ เกิดจากการทดลองให้เด็กรับประทานถั่วลันเตานานติดต่อกันเป็นเวลา 8 วัน ภายหลังเริ่มเปลี่ยนจากนมมาเป็นอาหาร ซึ่งพบว่าเด็กจะทานถั่วโดยเฉลี่ยสูงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น ใช่ว่าจะเฉพาะแต่เด็กที่ดื่มนมจากแม่เท่านั้น เพราะเด็กที่ดื่มนมจากขวดก็สามารถปรับตัวและมีนิสัยรักการกินผักได้ หากพวกเขาได้เรียนรู้เรื่องการกินผักและผลไม้ในทันทีตั้งแต่เริ่มหย่านม

การหันมารับประทานพืชผักสวนครัว

Farmthailand2
ผักสวนครัว เป็นผักที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือที่ว่างต่างๆ ในชุมชนต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกไว้สำหรับรับประทานเองภายในครอบครัวหรือชุมชน การปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานจะทำให้ผู้ปลูกได้รับประทานผักสดที่อุดมด้วยวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ มีความมปลอดภัยจากสารเคมี ลดรายจ่ายในครัวเรือน และที่สำคัญทำให้สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันในการปลูกผักเพื่อเกิดสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว โดยทั่วไปคนต้องมีการบริโภคผักอย่างน้อยวันละ 200 กรัม เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน เป็นพืชอะไรก็ได้ที่เราปลูกขึ้นเองหรือขึ้นเองตามธรรมชาติและเราสามารถเอาส่วนต่างๆ ของพืชมาบริโภคได้ เช่น ใบ ก้าน ลำต้น ดอก ผล เมล็ด หรือรากมาประกอบอาหาร โดยที่พืชจะต้องมีลักษณะอ่อนนุ่ม ไม่แข็ง อวบน้ำ มีรสชาติหวานหรือบางชนิดเป็นขม และไม่พิษต่อร่างกาย

เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ ให้สิ่งต่างๆที่จำเป็นต่อร่างกายซึ่งอาหารชนิดอื่นๆมีไม่เพียงพอหรือไม่มี ผักสวนครัวมีคุณสมบัติช่วยให้ระบบย่อยอาหารของร่างกายลดสภาพความเป็นกรดโดยสาเหตุจากย่อยอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เนย และอื่นๆ เยื่อใยของพืชผักสวนครัว ช่วยระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ ลดการเป็นโรคลำไส้ และมะเร็งในลำไส้ ลดปริมาณคลอเรสตอรอล ลดความอ้วน ผักสวนครัวอุดมไปด้วยธาตุแคลเซียมและธาตุเหล็ก ผักสีเขียวและเหลืองให้ วิตามินเอ ซี สำหรับถั่วต่างๆจะให้โปรตีน ประเภทหัว เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ให้คาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีความสำคัญในด้านคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการบริโภคการอุตสาหกรรมเกษตรและการผลิตเมล็ดพันธุ์ ซึ่งมีทั้งใช้บริโภคภายใน และส่งไปจำหน่าย จึงทำให้พืชผักสวนครัวมีแนวโน้มที่จะเป็นเศรษฐกิจในอนาคต

ประโยชน์ของผักสวนครัว

1. ใช้รับประทานเป็นอาหารโดยอาจรับประทานสดๆ เช่น แตงกวา กะหล่ำปลี หรือนำไปปรุงเป็นอาหารก่อน ซึ่งผักแต่ละชนิดจะมีสารอาหารที่แตกต่างกัน เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ เป็นต้น
2. ใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรค เช่น หอม กระเทียม ขิง สะระแหน่ เป็นต้น
3. ใช้ขายเพื่อเป็นรายได้ของครอบครัว
4. ทำให้ผู้ปลูกมีร่างกายแข็งแรง เพราะต้องพรวนดิน รดน้ำ ใส่ปุ๋ย และดูแลผักอยู่เสมอ ทำให้ได้ออกกำลังกายไปในตัว
5. ทำเป็นรั้วบ้านได้

เคล็ดลับให้ลูกยอมกินผักโดยการให้ปลูกผัก

ผักเป็นอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กจำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ ทว่าเป็นเรื่องชวนปวดหัวของพ่อแม่ผู้ปกครอง เพราะเด็กๆ มักไม่ชอบรับประทานผัก ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่ามีเพียง 41% ของเด็กเท่านั้นที่รับประทานผักเป็นประจำ เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบกินผัก เจอที่ไรเป็นเขี่ยทิ้งทุกที มาดูเทคนิคหลอกล่อให้เด็กมายอมกินผักกันดีกว่า
1.แปลงโฉม จะหลอกล่อเด็กกินผักทั้งที ถ้าทำมาแบบธรรมดาๆ มีรึที่เจ้าตัวเล็กจะสนใจ ลองจับเอามาแปลงร่างให้กลายเป็นผักชนิดใหม่ จะเติมหูเติมหางให้กลายเป็นตัวอะไรก็ได้แล้วแต่เราอยากจะเนรมิต เอาให้น่ากินก็เป็นใช้ได้
2.แปลงรส ต้องยอมรับความจริงกันว่ามีผักอยู่ไม่กี่ชนิดหรอกที่จะอร่อยด้วยตัวของมันเอง เพราะฉะนั้นเราต้องมาช่วยแต่งผักให้รสชาติเข้าท่าเข้าไว้ พอเข้าปากเจ้าตัวเล็กแล้วไม่รีบคายทิ้งออกมา เช่น นำไปชุบแป้งทอดผักก็จะกรอบ เจ้าตัวเล็กก็เคี้ยวกรุบๆ เพลินไปเลย
3.ชวนลูกปลูกผัก ข้อนี้เป็นกุศโลบายทางอ้อม เพระาเมื่อเจ้าตัวเล็กมีส่วนร่วมอาจจะเป็นแค่หยอดเมล็ด รดน้ำ หรือช่วยหยิบๆจับๆอะไรบ้าง ลูกก็จะเกิดความภูมิใจอยากชิมผักที่เขาและเราช่วยกันปลูกขึ้นมา
4.หม่ำด้วยกัน อุตส่าห์หลอกล่อให้เขาหม่ำ แต่ถ้าเราไม่หม่ำๆไปกับเขาด้วยล่ะก็ อาจไม่สำเร็จ เพราะบางทีเจ้าตัวเล็กก็ชอบที่จะเลียนแบบ ยิ่งถ้าเวลาที่เขากินแล้วเราให้คำชมนิดๆหน่อยๆล่ะก็ สำเร็จแน่ๆ

พ่อแม่รู้ไว้นะว่าลูกกินผักแล้วท้องไม่ผูก
ผักหรือผลไม้มีวิตามินช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ ที่สำคัญคือใยอาหารจำนวนมากในผักและผลไม้จะช่วยทำให้ระบบขับถ่าย ท้องไม่ผูก อึไม่แข็ง ไม่เป็นโรคริดสีดวงทวารหนัก และมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย คุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตว่าเวลาลูกท้องผูก เขาจะไม่สบายตัว ไม่มีสมาธิ ไม่ร่าเริง ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อพัฒนาการ ใยอาหาร กากใย หรือเส้นใยอาหารในผักผลไม้จะช่วยเรื่องระบบขับถ่ายได้ดี เพราะใยอาหาร หรือ Prebiotic ถือว่าเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่ของแบคทีเรียที่ดี หรือ Probiotic ซึ่งเจ้าแบคทีเรียตัวนี้ล่ะที่ช่วยปรับสมดุลในลำไส้ กระตุ้นการสร้างภูมิต้านทาน ทำให้ลำไส้แข็งแรงและระบบขับถ่ายดี ร่าเริงและพร้อมเรียนรู้ ลูกไม่กินผักไม่ได้ส่งผลเพียงแต่ร่างกายได้รับวิตามินไม่เพียงพอเท่านั้นนะคะ แต่ยังส่งผลถึงระบบการทำงานของร่างกายด้วย เช่น ระบบขัยถ่ายไม่ดี ท้องผูก ผิวพรรณไม่สดใส สมองไม่สดชื่น ร่างกายขาดภูมิต้านทานโรค ฯลฯ อย่าปล่อยให้ปัญหาลูกไม่กินผักกลายเป็นเรื่องใหญ่นะคะ สอนลูกกินผักตั้งแต่วันนี้เพื่อสุขภาพที่ดีนะคะ

ในผักผลไม้ยังมีสารพิเศษซึ่งทำหน้าที่คล้ายยาช่วยป้องกันโรคบางชนิด

4

เราลองมาดูพลังของผักผลไม้ หลากสี 5 สีกันบ้างว่า นอกจากสีสันสวยงามแล้ว ยังมีคุณประโยชน์อะไรอีกบางที่ทำให้สุขภาพแข็งแรง และป้องกันโรคได้หลากหลายเช่นกันมีอะไรบ้าง ประโยชน์จากผัก ผลไม้ 5 สี คงไม่ปฏิเสธใช่มั้ยว่าอาหารที่มีสีสัน เย้ายวนชวนน้ำลายสอไม่ใช่เล่น และที่มากกว่าความสดสวยชวนกินก็คือ สารต้านโรคที่อัดแน่นในบรรดาผักผลไม้หลากสี ซึ่งถือเป็นของแถมตบท้ายความอร่อยที่คุ้มค่าจริง ๆ อย่าง ที่เรารู้ ๆ กันว่าประโยชน์ของผักผลไม้นั้นมีมากมายมหาศาล ทั้งวิตามิน แร่ธาตุหลากชนิดที่เป็นประโยชน์กับกลไกต่าง ๆ ในร่างกาย และคุณสมบัติของการเป็นแหล่งใยอาหาร เป็นสารอาหารที่ช่วยลดการดูดซึมของคอเลสเตอรรอลและไขมัน ช่วยให้ระบบย่อย ระบบการขับถ่ายทำงานปกติ

นอกจากคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว ในผักผลไม้ยังมีสารพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่คล้ายยาช่วยป้องกันโรคบางชนิด เช่น มะเร็ง โรคหัวใจหลอดเลือด เป็นต้น แต่จะกินอย่างไรเพื่อให้ร่างกายได้รับการปกป้องจากโรคภัยได้นั้น เขาแนะนำให้กินหลากหลาย ถ้าให้ชัดขึ้นมาอีกหน่อยก็คือ กินให้ครบ 5 สี ใน 5 สีสันนั้นมีอะไรบ้างมาดูกันต่อเลยสีเขียวเป็นสีแรกที่ทุกคนจะนึกถึงเมื่อพูดถึงผัก สารที่ให้สีเขียวในผักก็คือคลอโรฟีลล์ นอกจากนี้ยังมีสารประกอบอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติส่งเสริมสุขภาพ เช่น ลูทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดการเกิดความเสื่อมของจอประสาทตา เป็นต้น..ว้าว..กินผักเขียวๆทำให้ดวงตาเราแข็งแรง สีเหลือง สีส้มในกลุ่มสี นี้มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายตัวด้วยกัน ตัวสำคัญ ๆ ก็ เช่น เบต้า-แคโรทีน ฟลาโวนอย วิตามินซี ซึ่งช่วยดูแลรักษาสุขภาพหัวใจ หลอดเลือด และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเรา และลดโอกาสการเกิดมะเร็ง กระตุ้นการกำจัดเซลล์มะเร็งของร่างกาย สีแดงสารตัวเลื่องชื่อในกลุ่มนี้ก็คือไลโคปีน เพราะมีการค้นพบว่าช่วยลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากของคุณผู้ชายได้ และลดปริมาณไขมันแอลดีแอลในเลือด นอกจากนี้อาหารสีแดงยังช่วยดูแลสุขภาพหัวใจ หลอดเลือดและระบบทางเดินปัสสาวะ ลดความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็ง

เหตุผลดี ๆ ที่ควรปลูกผักไว้กินเอง

ด้วยปัญหาประชากรล้นเมืองอย่างในปัจจุบัน ทำให้เราแทบไม่มีพื้นที่ปลูกพืชผักกันเท่าไร แต่การซื้อหาผักในตลาดก็อาจไม่การันตีในความปลอดภัยจากสารเคมีได้เหมือนกัน ดังนั้นการปลูกผักไว้กินเองจึงเป็นทางออกที่ดีของปัญหานี้ และด้วยเหตุผลสนับสนุนที่เราได้นำมาเสนอให้ฟังกันดังต่อไปนี้ รับรองว่าได้ยินแล้วจะรีบไปซื้อเมล็ดพันธุ์กับกระถางมาปลูกผักทันทีเลย

1. ได้ผักสดและดีต่อสุขภาพมากกว่า

เพราะตามปกติ ผักจะสูญเสียวิตามินและเกลือแร่ทันทีที่ถูกเด็ดออกจากต้น และเสียเพิ่มเติมในขั้นตอนการปรุงอาหาร ดังนั้นหากเราซื้อผักจากร้านข้างนอก ที่ใช้เวลาขนส่งและถูกแช่ไว้ในตู้เย็นเป็นเวลานานกว่าจะถึงมือเรา ผักเหล่านี้แทบไม่เหลือคุณค่าอาหารใด ๆ เลย นี่คือเหตุผลว่าทำไมการปลูกผักกินเองจึงดีกว่า เพราะนอกจากจะกรอบอร่อยเพราะความสดใหม่กว่าแล้ว ยังลดโอกาสในการสูญเสียคุณค่าทางอาหารให้น้อยลงอีกด้วย

2. มีส่วนช่วยในการดูแลโลก

ผักต่าง ๆ ที่เราซื้อมาจากตลาดหรือซูเปอร์มาร์เกตนั้น ไม่ได้ปลูกในเมืองหรือในประเทศของเราเสมอไป ผักบางชนิดก็ถูกขนส่งมาจากพื้นที่ห่างไกล ทั้งยังต้องถูกแช่แข็งมาเพื่อรักษาความสด และยังต้องทำบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ขายได้ราคาแพง ทั้งหมดนี้ต้องใช้พลังงานและทรัพยากรจำนวนมหาศาล ดังนั้นการปลูกผักที่บ้านไว้รับประทานเอง จึงเป็นหนทางที่ดีในการรักษ์โลกได้อีกทาง

3. ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก ๆ ที่บ้าน

เพราะการใช้ชีวิตแบบยุคสำเร็จรูปในปัจจุบัน แทบไม่เปิดโอกาสเด็ก ๆ เรียนรู้ว่าผักต่าง ๆ มาจากไหนหรือให้ประโยชน์อะไร ซึ่งเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ง่าย ๆ ด้วยการให้เด็ก ๆ มีส่วนร่วมปลูกผักที่บ้าน ถ้าเด็ก ๆ ปลูกถั่วงอก เขาก็จะอยากลองกินถั่วงอก เพราะรู้สึกผูกพันกับพืชผักที่เขาปลูก ซึ่งท้ายที่สุดจะช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้เรื่องอาหารและการกินเพื่อสุขภาพได้ง่ายนั่นเอง

4. ไม่ต้องกังวลกับยาฆ่าแมลง

ทุกคนรู้ดีว่าผักที่ซื้อจากตลาดหรือซูเปอร์มาร์เกต ไม่ได้ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลงเสมอไป และวิธีที่ดีกว่าการเสี่ยงต่อสารเคมีสะสม คือการปลูกผักไว้กินเอง เพราะเราสามารถดูแลควบคุมคุณภาพได้อย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน และไม่ต้องกังวลใจเรื่องสารเคมีใด ๆ อีกด้วย

5. ประหยัดเงินในกระเป๋า

แม้ว่าในเบื้องต้นเราจะต้องลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อปลูกผักในบ้าน แต่รับรองว่าผลหลังจากนั้นจะคุ้มค่าแน่นอน เพราะนอกจากเราจะมีผักที่สดสะอาด เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าอาหารไว้รับประทานเอง (รวมถึงแบ่งปันเพื่อนบ้านแล้ว) เรายังจะได้เมล็ดพันธุ์ของพืชมาปลูกได้อีกอย่างไม่มีวันสิ้นสุด ซึ่งช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้เยอะ อย่างที่คุณเองก็คาดไม่ถึงเชียวล่ะ

6. ทำให้เรามีความสุข

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ยืนยันว่าการปลูกผักไว้กินเองทำให้เรารู้สึกมีความสุขขึ้น เพราะต้นไม้สร้างพลังงานดี ๆ ให้แก่พื้นที่รอบข้าง ทั้งยังมอบความอุดมสมบูรณ์และเชื่อมโยงเรากับความมีชีวิตชีวา ดังนั้นการปลูกผักไว้กินเองนอกจากจะให้ประโยชน์ตามที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ยังทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นด้วยนั่นเอง

ทุกคนคงรู้แล้วการปลูกผักไว้กินเองมีประโยชน์นานัปการ และยังสามารถทำได้ง่ายโดยใช้พื้นที่เพียงนิดเดียว แค่ศึกษาวิธีปลูกผักในบ้านที่มีแนะนำไว้มากมายทั้งในหนังสือและอินเทอร์เน็ต แล้วเราก็จะทั้งประหยัดเงิน มีความสุข และได้สุขภาพดีไปในคราวเดียวกันเลยค่ะ

ปลูกผักรับประทานเองเป็นทางเลือกของคนรักสุขภาพ

ในสังคมทุกวันนี้ เราทุกคนต่างมองเห็นความสำคัญเฉพาะหน้าที่ของตน งานของตน โดยลืมมองให้เลยไกลออกไปถึงวิถีชีวิตและการงานของผู้อื่นบ้าง อย่างผู้ผลิตก็ทำหน้าที่ผลิตไป ทำอย่างไร วิธีใดก็ได้ขอให้มีผลผลิตออกมา จะใส่สารเคมีให้ผู้บริโภคได้รับไปบ้างก็ไม่ต้องเป็นห่วงเป็นใยอะไร ทางด้านผู้บริโภคเองก็ทำหน้าที่บริโภคอย่างเดียว พยายามขวนขวายหาเงินหาทองเพื่อให้ได้ซื้อสินค้าหน้าตาสวยๆ ซึ่งเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่มิได้มองว่ากว่าที่ผู้ผลิตจะได้ผลผลิตเหล่านั้นมา ต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการที่ยากลำบากมากมายเพียงใด

ฉะนั้น เมื่อใดที่คนเราเห็นอาหารเป็นเพียงสินค้า ผู้ผลิตจะไม่คำนึงถึงผู้บริโภคว่าจะได้รับพิษภัยจากอาหารนั้นแค่ไหน ถึงเวลาแล้วที่ศีลธรรมทางการผลิตและบริโภคต้องเกิดขึ้นเพื่อความเอาใจใส่ต่อกันและกันของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และเมื่อนั้นอาหารจะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพสำหรับทุกคน สำหรับข้อแนะนำต่อไปนี้ขอกล่าวรวมไว้ทั้งในแง่พฤติกรรมส่วนตัวและกิจกรรมส่วนรวม เพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นแนวทางในอันที่จะนำไปสู่ชีวิตที่ปลอดสารพิษมากยิ่งขึ้น

สนับสนุนผู้ผลิตพืชผักปลอดสารพิษ

โดยวิธีที่ต้องช่วยบอกต่อๆกันไปมาอุดหนุนสินค้าของร้านค้า หรือกลุ่มเกษตรกรที่ขายพืชผักปลอดสารเคมี แม้ว่าในขั้นต้นราคาอาจจะแพงกว่าแม่ค้าที่เจือปนสารเคมีทั้งที่ต้นทุนในการผลิตมีราคาถูกกว่าก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากต้นทุนจำนวนมากต้องสูญเสียไปกับการดำเนินการทางการตลาด การขนส่ง เนื่องจากเครือข่ายในการตลาดยังไม่กว้างพอ แต่ในอนาคตหากทุกคนช่วยกันซื้อสินค้าประเภทนี้มากๆ ราคาของสินค้าก็จะลดต่ำลงมาโดยปริยาย

ปลูกผักไว้กินเอง

เรื่องนี้อาจจะทำได้ค่อนข้างยากสักหน่อยสำหรับสังคมในเมือง เนื่องจากจำกัดด้วยเนื้อที่ แต่ถ้ามีความตั้งใจจริงก็สามารถทำได้ อาจจะปลูกไว้ในกระถางสำหรับผักที่มีรากไม่ลึกนัก เช่น กะเพรา พริก คะน้า ตะไคร้ มะเขือ หรือแม้แต่ผักกาดขาวที่เรามักไม่ค่อยเห็นปลูกกัน ก็สามารถปลูกในกระถางได้ และเก็บกินได้ทั้งปีถ้ารู้จักวิธีเก็บ คือ ชาวสวนเขาบอกมาว่าให้เด็ดเฉพาะใบล่างแล้วเหลือยอดไว้ อย่าตัดทั้งต้น มันจะแตกใบออกมาให้ได้กินเรื่อยๆ นอกจากนี้ก็ยังมีผักอื่นๆอีกมากมายที่สามารถปลูกได้ในกระถาง แล้วการปลูกผักในกระถางนี้ควรจะปลูกแบบหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือที่เรียกว่า รีไซเคิล (recycle) เนื่องจากดินมีจำกัด มีวิธีการ คือ หลังจากบริโภคแล้วให้นำสิ่งที่เหลือหรือเศษอาหารจากท่อระบายน้ำมาใช้ใหม่ มาทำเป็นปุ๋ย เพื่อหมุนเวียนผลิตอาหารได้อีก

ข้อดีของการปลูกผักกินเอง นอกจากเราจะสามารถควบคุมกรรมวิธีการปลูกให้ปลอดสารพิษได้ด้วยตนเองแล้ว ยังเป็นผลงานที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ผู้ปลูกด้วย (แต่อย่าภูมิใจมากเสียจนไม่กล้ากินผักที่ปลูกเพราะเสียดายก็แล้วกัน) และถ้ากิจกรรมนี้ได้มีการทำร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัวด้วยแล้ว ก็จะยิ่งช่วยกระชับความสัมพันธ์ของเหล่าสมาชิกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

การกินอาหารที่ได้จากธรรมชาติอย่างผักสวนครัวที่เราปลูกเองกับมือ

การกินอาหารที่ได้จากธรรมชาติอย่างผักสวนครัวที่เราปลูกเองกับมือ เรามักมั่นใจเสมอว่าไม่มีสารพิษตกค้างทำให้สามารถนำมาประกอบอาหารได้อย่างมั่นใจ และวันนี้เราก็มีผักสวนครัวปลูกและดูแลง่ายแนะนำกัน บ้านใครพอมีพื้นที่หรือมีกระถางแทรกให้พอตั้งวางริมระเบียงได้บ้าง ก็มาดูกันเลยค่ะว่ามีผักอะไรบ้างที่น่านำมาปลูกและมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร รับรอง… งานนี้ลงทุนต่ำแต่กำไรเพื่อสุขภาพนั้นมากโขทีเดียว

มะเขือเทศ มะเขือเทศเป็นผักที่มีวิตามินซีสูง มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ไลโคปีน ช่วยลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งลำไส้ เป็นนางเอกของอาหารผิวสำหรับผู้หญิงชั้นเยี่ยม แค่นำมาฝานเป็นแผ่นบางแล้วพอกหน้าบ่อยๆ ก็ช่วยใบหน้าสดใส ไร้สิวและริ้วรอยได้แล้ว หากบ้านไหนปลูกมะเขือเทศแล้ว เมื่อลำต้นเริ่มเติบโตพอประมาณ อย่าลืมหาไม้มาปักหลักให้กับลำต้นด้วย เนื่องจากมะเขือเทศเป็นไม้เลื้อย ลำต้นจะได้ทรงตัวตั้งตระหง่านสวยงาม
สะระแหน่ เป็นผักที่มีฤทธิ์เย็น สดชื่นหรือเป็นมินต์ในแบบไทยๆ นั่นเอง ประโยชน์จากสะระแหน่จะช่วยขับเหงื่อลดความร้อน ขับพิษไข้ หากนำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อยจะช่วยลดอาการอักเสบร้อนได้ ใครที่เป็นบิดให้ต้มใบสดแล้วดื่ม กลิ่นสะระแหน่เป็นกลิ่นที่ยุงเกลียดสามารถนำใบสดมาบดๆ แล้วทาบนผิวเพื่อไล่ยุงได้ นอกจากนี้ หากนำมาสกัดใช้ในรูปแบบของน้ำมันหอมระเหยจะมีส่วนช่วยรักษาโรคไทรอยด์ได้ด้วย เป็นผักที่ปลูกง่าย เพียงมีพื้นที่รองรับพอประมาณหรือมีกระถางใบกลางๆ สะระแหน่ก็เติบโตให้เก็บกินได้แล้ว

พริก เห็นเป็นเม็ดเล็กๆ กระจิดริดแต่ฤทธิ์เพื่อสุขภาพนั้นมหาศาลดีทีเดียว เนื่องจากมีวิตามินซีสูง เบต้าแคโรทีนหรือวิตามินเอ และกรด Ascorbic ช่วยในการขยายเส้นเลือดในลำไส้ทำให้สามารถดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น พริกยังมีสารแคปไซซินที่ให้รสชาติเผ็ดร้อน ช่วยลดความเจ็บปวดในกล้ามเนื้อต่างๆ เมื่อปลูกเป็นผักสวนครัว สามารถดูแลง่ายไม่ยุ่งยาก แค่เลือกจากต้นกล้าที่แข็งแรงแล้วนำลงปลูกในกระถาง รถน้ำวันละ 1 ครั้ง ตากแดดริมรั้วมันก็อยู่ตัวทนทานให้ผลผลิตได้เก็บกินนาวยาวแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีพืชผักสวนครัวริมรั้วที่น่านำมาปลูกมากมาย หากพื้นที่บ้านใครค่อนข้างมีบริเวณกว้างขวางมากพอ สามารถปลูกได้แม้กระทั่งผักลำต้นสูงใหญ่อย่างต้นมะกรูด รองลงมาก็จะเป็นผักลำต้นเล็กๆ อย่างผักชี ต้นหอม ใบโหระพา กะเพรา มะเขือเปาะ ผักกาดหอม ตะไคร้ เป็นต้น สมัยนี้ การปลูกผักริมรั้วไว้กินเองเป็นอะไรที่ปลูกง่ายมาก บ้านใครไม่ได้มีพื้นดิน แค่มีกระถางก็สามารถเพาะพันธุ์ผักสวนครัวเล็กๆ ตั้งริมระเบียงไว้เก็บกินกันได้แล้ว

สารอาหารที่เราจะได้รับเพื่อสุขภาพเมื่อเราปลูกผักรับประทานเอง

การเลือกปลูกผักสวนครัวให้เหมาะกับสภาพพื้นที่อันจำกัดที่มีอยู่รวมถึงผู้ปลูกสามารถนำวัสดุเหลือใช้ภายในครัวเรือน เช่น ถังน้ำที่แตกแล้ว ขวดน้ำ พลาสติก มาดัดแปลงทำเป็นกระถางในการปลูกผักได้ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะให้กับโลก ทั้งยังเกาะกระแสช่วยลดโลกร้อน สร้างพื้นที่สีเขียว รวมถึงสุขภาพที่ดีให้กับผู้ปลูกและผู้บริโภค แถมท้ายหากมีความเชี่ยวชาญแล้วก็อาจจะขายสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกด้วย กำไรหลายต่ออย่างนี้ เราๆท่านๆ ที่มีพื้นที่ว่างเปล่าอยู่ใกล้ๆลองหันมาทำสวนครัวกันดูไหม

การเลือกทำเลในการปลูกผักสวนครัว ก็เลือกปรับตามสภาพพื้นที่ ที่มีอยู่ เช่น ถ้าเป็นบ้านเดี่ยว อาจทำเป็นแปลงลงดินได้เลย แต่หากอาศัยอยู่ตามตึกแถว คอนโดฯ ทาวน์เฮาส์ ก็ปลูกเป็นสวนผักกระถางไว้ริมระเบียง หรือทำคอกใส่ดินไว้บนดาดฟ้า แต่ก็ควรคำนึงถึง การรับน้ำหนักของพื้นที่ดาดฟ้า รวมถึงการระบายน้ำที่ดี ไม่ให้ซึมไปยังห้องด้านล่างของดาดฟ้า รวมถึงพื้นที่จะต้องมีแสงแดดเพียงพอ มีแหล่งน้ำที่จะรดผักและมีอากาศถ่ายเทได้ดี

การปลูกลงแปลง จะใช้กับพืชที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ หรือเป็นพวกผักกินหัวหรือราก เช่น หัวไชเท้า แครอต เนื่องจากรากและลำต้นสามารถงอกทะลุผ่านเม็ดดินที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ ทั้งนี้พืชกินหัวจะไม่ทำการย้ายต้นกล้าไปปลูก เพราะจะทำให้รากของต้นผักได้รับการกระทบกระเทือน อาจชะงักการเจริญเติบโตได้ โดยจะใช้การหว่านหรือหยอดหลุม

การเพาะเมล็ดเป็นต้นแล้วย้ายไปปลูก ทำโดยนำเมล็ดไปเพาะในถาดหลุมหรือกระจาดพลาสติก เมื่อต้นกล้าผักงอกจนมีใบจริงประมาณ 2-3 ใบแล้วจึงย้ายไปปลูกลงแปลงหรือลงกระถาง รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็ย หมั่นสังเกตดูการเจริญเติบโตของต้นพืช โรคและแมลงที่เข้ามาอาศัยอยู่ในแปลงของเราด้วย

การดูแลใส่ปุ๋ย ก็เพียงเติมปุ๋ยคอกเก่าหรือปุ๋ยหมัก พร้อมกับรดน้ำด้วยน้ำสกัดชีวภาพในอัตราส่วน น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน และน้ำ 500-1,000 ส่วน สัปดาห์ละครั้ง หรือน้ำสกัดชีวภาพ 2-4 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 บัวรดน้ำ และก็อย่าลืมถอนวัชพืช เด็ดใบเหี่ยวหรือแก่ออกบ้าง พืชที่ดูแลอยู่ ก็จะเจริญเติบโตได้ดีสมใจผู้ปลูก

ชวนลูกน้อยปลูกผักที่บ้าน เสริมสุขภาพและความรู้ อย่างคาดไม่ถึง

การชักชวนลูกน้อยมาปลูกผักนั้นมีประโยชน์อย่างคาดไม่ถึง ทั้งได้สร้างความรู้ให้ลูกน้อยอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ การรักษาสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญยังเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้สดใสแข็งแรง เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและอากาศที่สดชื่น

เริ่มต้นกันเลยในช่วงเวลาปิดเทอมนี้ ชวนลูกๆ มาปลูกผักทานเองกันดีไหม หรือจะปลูกดอกไม้อะไรที่ลูกชอบก็ได้ แทนที่พ่อแม่จะปลูกกันเอง ก็ชวนลูกๆ มาเล่นพรวนดิน ปลูกผักปลูกต้นไม้ ใส่ปุ๋ย รดน้ำต้นไม้กัน หากบ้านคุณมีพื้นที่เยอะก็ทำเป็นแปลงผักหรือแปลงดอกไม้ หรือถ้ามีพื้นที่น้อยก็แบ่งพื้นที่แค่บางส่วน แต่ถ้าไม่มีพื้นที่ก็สามารถปลูกแบบใส่กระถางได้

ถ้าเป็นการปลูกผัก ขอแนะนำให้ปลูกผักที่ปลูกขึ้นได้ง่ายๆ อาทิเช่นผักบุ้ง หรือมะเขือเทศ โดยคุณอาจใช้วิธีเล่นเป็นเกมแข่งปลูกต้นไม้ และจากนั้นก็ต้องมีการดูแลหมั่นรดน้ำต้นไม้ที่ตัวเองปลูก แล้วดูว่าต้นไม้ของใครจะเจริญเติบโตได้ดีกว่ากัน

– การปลูกผักและสอนวิธีใช้ปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติ จะช่วยให้ลูกเรียนรู้เรื่องความสมดุลธรรมชาติและรู้รักษาสิ่งแวดล้อม
– การสอนวิธีใช้ชีวิตและการกินอย่างถูกสุขอนามัย จะช่วยให้ลูกเต็มใจที่จะทดลองทานผักชนิดใหม่ๆ ที่ปลูกเองมากขึ้น
– การหยิบจับสิ่งของที่ทำให้มือเปรอะเปื้อน จะทำให้ลูกตื่นเต้นและสนใจในการเรียนรู้กล้าเผชิญสิ่งที่ท้าทาย
– การแนะนำให้ลูกรู้จักแมลง จะทำให้ลูกชนะความกลัวสัตว์ต่างๆ เหล่านั้นได้
– การรอให้ต้นไม้เจริญเติบโต จะทำให้ลูกหัดสังเกตและมีความอดทน
– การให้ลูกได้สัมผัสอากาศบริสุทธิ์ในสวน จะช่วยให้ลูกมีสุขภาพกายและใจที่ดี

หลังทำกิจกรรมเสร็จแล้วคุณแม่ควรหาเครื่องดื่มเย็นๆ รสชาติอร่อยเตรียมไว้ฉลองให้กับสุดยอดนักปลูกต้นไม้ด้วย เช่นเครื่องดื่มรสช็อกโกแล็ตมอลต์ ที่เข้มข้นหอมอร่อยช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้ลูกๆ และมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็กๆ จะช่วยให้กิจกรรมนี้สมบูรณ์แบบสุดๆ

ปลูกผักกินเองดีต่อสุขภาพ

ในยุคที่เต็มไปด้วยมลภาวะและสารพิษ จะมีอะไรดีไปกว่าการปลูกผักสวนครัวกินเอง เพราะนอกจากจะมั่นใจในความสดอร่อยได้แล้ว ยังไม่ต้องกังวลเรื่องสารพิษตกค้าง หรือราคาผักที่ราคาแพงขึ้นอีกด้วย ดังนั้นถ้าใครมีพื้นที่ในสวนเหลืออยู่ก็อย่ารอช้า ลองมาปลูกผักสวนครัวกินเองเพิ่มสีสันให้สวนของคุณและเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในบ้านกันเลยดีกว่าจ้า

1. เลือกที่มีแดดมาก แน่นอนว่าพืชผักสวนครัวของคุณจะเติบโตแข็งแรงได้เต็มที่ ก็ต่อเมื่อได้รับแสงแดดมากพอเท่านั้น เพราะฉะนั้นก่อนจะปลูกก็ควรสังเกตดูว่าแสงแดดมักผ่านเข้ามาทางไหน เพื่อให้ผักของคุณได้รับแสงแดดเต็มที่ทุกฤดู แม้ในช่วงหน้าฝนหรือหน้าหนาวนั่นเอง

2. กะระยะห่างพอสมควร ผักผลไม้แต่ละชนิดต้องการพื้นที่ในการเติบโตแตกต่างกันออกไป เช่น มะเขือเทศควรเว้นระยะห่าง ราว 60 เซนติเมตร ในขณะที่ฟักทองต้องการพื้นที่ประมาณ 120 เซนติเมตร ส่วนผักกะหล่ำนั้นสามารถปลูกในแปลงต่อกันได้เลย เป็นต้น เพราะฉะนั้นควรคำนวณดูก่อนว่าคุณมีพื้นที่ปลูกผักประมาณเท่าไหร่ แล้วลองกะระยะดูว่าพื้นที่ที่มีอยู่เหมาะจะปลูกอะไรได้บ้าง ผักของคุณจะได้เติบโตงอกงามได้เต็มที่

3. เลือกปลูกตามฤดูกาล สภาพอากาศก็เป็นอีกสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน เพราะพืชแต่ละชนิดโตได้ดีในอากาศที่ต่างกัน เช่น พืชที่เหมาะกับอากาศหนาวเย็น ได้แก่ บร็อคโคลี่ ผักกะหล่ำ แครอท ผักกาดขาว มันฝรั่ง หัวไชเท้า และผักโขม ในขณะที่พืชจำพวกข้าวโพด แตงกวา มะเขือม่วง พริกไท ฟักทอง และมะเขือเทศจะโตได้ดีในอากาศอบอุ่น เพราะฉะนั้นถ้าคิดจะปลูกพืชหมุนเวียน ก็ควรศึกษาให้ดีก่อนปลูกด้วย

4. เตรียมแปลงปลูกให้เรียบร้อย เพื่อให้แปลงผักสวนครัวของคุณพร้อมเต็มที่ คุณก็ควรใส่ปุ๋ยพรวนดินไว้ก่อนที่จะซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูก จะได้ช่วยให้ดินของคุณผสมกับปุ๋ยจนอยู่ตัวพร้อมจะหว่านเมล็ดได้ทันที อย่างไรก็ดี ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 3 วันนะคะ ไม่อย่างนั้นสารอาหารต่าง ๆ ในปุ๋ยอาจเสื่อมสภาพลงไปซะก่อน นอกจากนี้ก่อนจะเริ่มปลูกก็ควรศึกษาวิธีปลูกสำหรับผักแต่ละชนิดให้ดีด้วยเหมือนกัน เพราะพืชแต่ละชนิดอาจมีวิธีปลูกแตกต่างกันไป

5. ความสดใหม่ก็สำคัญ แน่นอนว่าเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่งเก็บมาสด ๆ นั้น ย่อมแข็งแรงเติบโตได้ดีกว่าแบบที่เก็บนานจนเก่าอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่สดใหม่แข็งแรงมาปลูก ก็ควรอ่านฉลากด้านข้างหรือสอบถามเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อ เพื่อให้ได้ของใหม่ด้วย หรืออาจถือโอกาสเริ่มต้นซื้อหลังปีใหม่เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่เพิ่งนำออกขายต้นปีไปเลยก็ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดีเพื่อให้การทำสวนสนุกมากขึ้น อาจชวนลูก ๆ มาช่วยกันปลูก เพื่อจะได้มีกิจกรรมครอบครัวร่วมกัน และสนับสนุนให้เขากินผักฝีมือตัวเองไปในดัวด้วยก็ได้นะคะ

เรื่องจริงคือผักพื้นบ้านมีสารอาหารสูงกว่าผักตามท้องตลาดมาก

ผักพื้นบ้าน

หรือผักพื้นๆเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับคนไทย ทั้งนี้เพราะเอกลักษณะของผักพื้นบ้าน คือ ความเป็นไม้พื้นเมือง แถมเป็นสายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่มีความแข็งแรง เหมาะกับภูมิอากาศและภูมิประเทศของเมืองไทย คนไทยรุ่นใหม่จึงสมควรที่จะเรียนรู้และเก็บรับประสบการณ์จากคนโบราณ ซึ่งจะว่าไปแล้วคนโบราณหรือคนเฒ่าคนแก่ได้เรียนรู้โลกและถ่ายทอดบทเรียนทางธรรมชาติให้เรามากมาย คนรุ่นใหม่ยุคโลกภิวัฒน์จึงควรช่วยกันส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผักพื้นบ้านไทย อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งผลดีต่อวัฒนธรรม นิเวศวิทยา และสุขภาวะของชาวไทยอีกด้วย

บรรพบุรุษไทยได้ผสมผสานองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตได้อย่างกลมกลืน พืชผักและสมุนไพรไทยทำให้อาหารแต่ละพื้นบ้านของไทยมีหลากหลายรสชาติ และสามารถปรับใหม่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนได้อย่างสอดคล้อง เช่น แกงส้มมีรสเปรี้ยว บำรุงธาตุน้ำ แกงเลียง แกงแค มีรสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุลม หรือเมี่ยงคำ เป็นอาหารปรับธาตุชั้นหนึ่ง เพราะมีเครื่องปรุงหลายอย่าง เช่น ใบชะพลู มะนาว พริก หอม ขิง มะพร้าว ถั่ว น้ำตาล กุ้งแห้ง สามารถปรุงตามสัดส่วนที่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของแต่ละคน หรือยำผักพื้นบ้าน 4 ธาตุ ที่รวบรวม ผัก 4 ธาตุ หลากหลายชนิด

เหตุที่ผักพื้นบ้านค่อยๆหายไปนั้น เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าผักมีประโยชน์ และคุณค่าทางสารอาหารมากแค่ไหน เนื่องจากผักทั่วไปสามารถเข้าถึงได้มากกว่า เพียงเดินตามท้องตลาดก็หาซื้อได้ง่าย ส่วนผักพื้นบ้านเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ผักพื้นบ้านมีสารอาหารสูงกว่าผักตามท้องตลาดมาก บางชนิดมากถึงสิบเท่า มีสารบางชนิดที่มีบทบาทอย่างมากในการยับยั้งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างเช่น โรคมะเร็ง หัวใจ ความดัน เป็นต้น และช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากสิ่งแวดล้อม และกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกายที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จะมีในผักพื้นบ้านค่อนข้างเยอะโดยเฉพาะผักที่มีรสขม ผักทั่วไปหาไม่ค่อยพบ มีในผักพื้นบ้านภาคใต้ เช่น มันปู ยอดมะม่วงหิมพานต์ ผักเลียงน้ำ หรือ ผักเหลียง ผักหนาม ฯลฯ

ลักษณะพิเศษของผักพื้นบ้าน

1.อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมและมีบทบาทในการรักษาโรคเรื้อรังที่เป็นโรคยอดนิยม เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันเลือดสูง เบาหวาน โรคข้อ โรคอ้วน ได้เป็นอย่างดี
2.เป็นแหล่งของสารผัก เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด เหล่านี้ล้วนเป็นสารเสริมภูมิต้านทาน ทำให้ร่างกายแกร่งขึ้น และเป็นสารต้านมะเร็ง มีบทบาททั้งป้องกันมะเร็ง และใช้รักษามะเร็ง
3.เป็นแหล่งของสารเส้นใย เดิมทีเราอาจจะเข้าใจว่าสารเส้นใยมีประโยชน์แต่เพียงเป็นกากอาหาร
4.เป็นสมุนไพรรักษาโรค แน่นอนพืชผักที่ใช้กันมานับเป็นเวลาพันปี ย่อมมีอะไรดีอยู่ในตัว ผักพื้นบ้านส่วนมากมีบทบาทต่อสุขภาพ ไม่ขับลมก็ช่วยย่อย มีหลายชนิดที่สามารถใช้รักษาอาการตะครั่นตะครอ เวลาอากาศเปลี่ยน

การปลูกพืชผักรับประทานเองเองแบบผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อสุขภาพของเรา

4

ด้วยกระแสรักสุขภาพ “ผักไฮโดรโปนิกส์” จึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นผักที่ปลูกโดยปลอดสารพิษ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดจะปลูกเป็นผักสวนครัวไว้กินเองในครัวเรือน คงเป็นเรื่องยุ่งยากน่าดู เพราะกระบวนการปลูกต้องอาศัยเทคโนโลยีในการวางระบบต่างๆ ทั้งเรื่องรางปลูก การไหลเวียนของน้ำ และส่งสารอาหาร จึงเป็นเรื่องไกลตัวที่คนทั่วไปจะสามารถปลูกไว้กินเองได้ ชุดแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สำเร็จรูป แบรนด์ ‘I-Green’ ช่วยให้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เป็นเรื่องง่ายดายอย่างไม่น่าเชื่อ ขนาดคุณตาคุณยายวัยเกษียณ หรือแม่บ้านทั่วไปก็สามารถลงมือปลูกเองได้ แถมผลผลิต และคุณภาพไม่เป็นรองซื้อจากห้างสรรพสินค้า แม้แต่น้อย “ไฮโดรโปนิกส์” (Hydroponics) เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้วัสดุปลูก คือ จะปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืช ให้รากพืชสัมผัสกับสารอาหารโดยตรง ตามรากศัพท์เดิมมาจาก ไฮโดร (Hydro) แปลว่าน้ำ และ โพโนส (Ponos) แปลว่า งาน รวมความคือ วอเตอร์-เวิร์คกิ้ง (Water-working) หมายถึงการทำงานของน้ำที่มีสารละลายธาตุอาหารผ่านรากพืช ซึ่งต้องมีการควบคุมอุณหภูมิของสารละลายธาตุอาหารพืช ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชให้ดี

ข้อดี เป็นระบบที่ให้ผลผลิตสะอาด เนื่องจากไม่มีการใช้ดิน สามารถลดขั้นตอนการทำความสะอาดที่ทำให้ผลผลิตต้องโดนน้ำและมีโอกาสเน่าเสียได้ สามารถหลีกเลี่ยงหรือลดการใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้ ทว่า มีข้อเสียต้นทุนสูง สิ้นเปลืองพลังงาน และจำเป็นต้องใช้ความชำนาญในการดูแล จากที่เห็นปัญหาดังกล่าว เขาเริ่มทดลองหาวัสดุอื่นมาทดแทน โดยเลือกเป็นวัสดุ “UPVC” ซึ่งเป็น PVC ชนิดที่ใส่สารป้องกันแสง UV ไว้ มีความหนากว่า 2 มิลลิเมตร จึงมีความแข็งแรงและทนทานสูงกว่ามาก อายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี ส่วนใหญ่วัสดุชนิดนี้จะนำไปใช้ผลิตเป็นอุปกรณ์เกี่ยวกับบ้านที่ใช้งานกลางแจ้ง เช่น หน้าต่าง ระเบียงประตู กันสาด เป็นต้น โดยวัสดุ “UPVC” ที่เขาเลือกเป็นเกรดที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ “อาหาร” จึงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ในส่วนขาตั้งรางปลูกทำจากวัสดุ UPVC เช่นกัน แตกต่างจากทั่วไปที่นิยมเป็นขาตั้งเหล็ก ดังนั้น ขาตั้งที่ทำจากวัสดุ UPVC ตัดปัญหาเรื่องสนิมออกไปได้ เช่นเดียวกับนอตยึดทุกตัวเป็นอะลูมิเนียม ไม่เกิดปัญหาสนิมเช่นกัน